ดูทีวีออนไลน์ช่อง 9

อ่าน 869 | ตอบ 0
 

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

ราวประมาณต้นเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 บจก.ไทยโทรทัศน์ ยุติการออกอากาศ ในระบบขาวดำ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยย้ายห้องส่งโทรทัศน์ ไปยังอาคารสำนักงานใหญ่ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู เพราะเนื่องจากในปีพ.ศ. 2502 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ขอซื้ออาคารที่ทำการของไทยทีวีช่อง 4 และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดของวังบางขุนพรหม โดยแลกกับ บ้านมนังคศิลา ในราคา 39 ล้านบาท

และในปีเดียวกัน ก็เปลี่ยนช่องสัญญาณ และระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ ในระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 4 เป็นภาพสี ในระบบวีเอชเอฟ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (อังกฤษThai Television Channel 9) และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในเมื่อราวปี พ.ศ. 2517

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้การดำเนินงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 โดยให้จัดตั้งหน่วยงานชื่อ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อังกฤษThe Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของ รัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือ ต่อสาธารณชน โดยรัฐบาลไทย มอบทุนประเดิมไว้ เป็นจำนวน 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชน ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 มาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. ทำให้สถานีโทรทัศน์เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยอัตโนมัติ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อเวลา 09:25 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับ บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด ส่งผลให้ผู้ประกาศข่าวคู่ ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 อ.ส.ม.ท.ร่วมลงนามในสัญญากับ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เพื่อขยายเครือข่ายกิจการโทรทัศน์ ไปสู่ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานภาครัฐฯ จัดสรรคลื่นความถี่ส่ง ด้วยระบบวีเอชเอฟ พร้อมอุปกรณ์การออกอากาศ เพื่อจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท.แต่ละแห่ง (ระยะหลังจึงขยายไปสู่ระบบยูเอชเอฟ) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531-เดือนรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงทำให้ สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. ทั้งสองแห่ง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ

ราวปี .ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า “แดนสนธยา” เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืด ฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัย ก็สามารถขจัดอิทธิพลมืด เหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่แล้ว นายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน เสียชีวิตระหว่างนั่งรถยนต์ เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจ ระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร อดีตผู้ได้รับสัมปทานจัดรายการ ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.ส่วนภูมิภาค จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหาร เสียชีวิตบนรถยนต์ ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

ด้วยตามดำริของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการนำเสนอ รายงานข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพื่อขจัดความเป็น 'แดนสนธยา' ภายในองค์กรอีกด้วย

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 จึงมีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ และปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอ เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทกับ เครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น(สหรัฐอเมริกาสถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักรสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่นสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยเริ่มออกอากาศในรูปแบบใหม่ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 18.30 น.เป็นต้นไป แต่ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อสถานีฯ ไปแล้ว แต่คนไทยส่วนมาก ก็ยังนิยมเรียกชื่อสถานีฯ ว่า ช่อง 9 ตามเดิม

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ การออกอากาศโทรทัศน์ ตลอดจนการควบคุมการออกอากาศ โดยแพร่ภาพออกอากาศ จากกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่าย ในส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรในขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมทั้งถ่ายทอดสดต่างๆ ซึ่งได้จัดรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ ในด้านต่างๆ มานำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ที่มีผู้ชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชม ได้รับข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างเท่าเทียมกัน และมุ่งหวังว่า จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน

มีเหตุการณ์สำคัญที่สถานีฯ เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คือเมื่อเวลา 22.15 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก สหรัฐอเมริกา ถ่ายทอดสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี แต่อ่านแถลงการณ์ได้เพียงสามฉบับ ก็มีกำลังพลทหารพร้อมด้วยอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกยึดเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพทันที จึงทำให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องปฏิบัติตามในที่สุด

นายจักรพันธุ์ ยมจินดา รองประธานกรรมการ ในฐานะ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท แถลงปรับปรุงรายการข่าวโทรทัศน์ของสำนักข่าวไทย ว่าจะใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร กับการรายงานข่าวในช่วงเวลาต่างๆ และจะใช้เฮลิคอปเตอร์ในการรายงานข่าวเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อช่วงว่า 'เบิร์ด อายส์ นิวส์' (Bird Eye's News) รวมทั้งจะจัดให้มีการสำรวจความเห็นของผู้ชม โดยใช้ชื่อว่า เอ็มคอท โพลล์ (MCOT Poll) นอกจากนี้ ยังจะปรับปรุงตราสัญลักษณ์ ของสำนักข่าวไทยขึ้นใหม่ ให้มีความทันสมัย และทันโลกมากขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการในโอกาสที่ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ครบ 10 ปี ในงานครบรอบวันสถาปนา อสมท วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :